วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2558

อาชีพทางด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์



1.นักเขียนโปรแกรมหรือโปรแกรมเมอร์ (Programmer)

ทำหน้าที่ในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในงานด้านต่างๆ เช่น โปรแกรมเกี่ยวกับการซื้อขายสินค้าโปรแกรมที่ใช้กับงานด้านบัญชี หรือโปรแกรมที่ใช้กับระบบงานขนาดใหญ่ขององค์กร

                                       


2.ผู้ดูแลและบริหารระบบ (System administrator) 

ทำหน้าที่บริหารและจัดการระบบคอมพิวเตอร์ในองค์กร โดยดูแลการติดตั้งและบำรุงรักษาระบบปฏิบัติการ การติดตั้งฮาร์ดแวร์ การติดตั้งและการปรับปรุงซอฟต์แวร์ สร้าง ออกแบบและบำรุงรักษาบัญชีผู้ใช้ สำหรับองค์กรขนาดเล็กเจ้าหน้าที่ควบคุมระบบอาจต้องดูแลและบริหารระบบเครือข่ายด้วย
  

วันจันทร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ตัวอย่างข้อสอบ O-NET

เว็บไซต์
1.http://www.admission.in.th

2.http://www.tewfree.com

                                                     ตัวอย่างวิชา ภาษาไทย

1.คําซ้ําในขอใดตองใชเปนคําซ้ําเสมอ
   1. คนงานใหม่ขยันเปนพักๆเอาแนไมได
   2. นักเรียนอนุบาลหกลมหัวเข่าแตก เลือดไหลซิบๆ
   3. งานนี้ถึงจะไดเงินเดือนนอย ก็ทําไปพลางๆกอนแลวกัน
   4. ถาเราวางแผนใหดีตั้งแตแรกๆโครงการนี้ก็คงสําเร็จไปแลว

2.ขอใดเปนคําซอนทุกคํา
   1. ซ้ําซอน ซอนรูป ซักฟอก
   2. ถองแท ถี่ถวน ถากถาง
   3. บีบคั้น เบียดเบียน เบาความ
   4. แปรผัน เปาหู โปรยปราย

 3.ขอใดมีคําประสมทุกคํา
    1. คําขาด คําคม คําราม
    2. เดินแตม เดินรถ เดินสะพัด
    3. น้ำปา น้ำไหล น้ำมือ
    4. ติดลม ติดใจ ติดขัด

 4.ขอใดไมมีคําสมาส
    1. วิสุทธโยธามาตยเจา กรมขวา
    2. หนึ่งชื่อราชโยธา เทพซาย
    3. ตําแหนงศักดิ์ยศถา เสถียรที่
    4. คุมพยุหยาตรายาย ยางเขาตามสถาน

 5.ขอใดมีคําสมาสที่มีการสรางคําตางกับขออื่น
    1. ขับคเชนทรสาวกาว สายเสื้องเทาทาง
    2. สถานที่พุทธบาทสราง สืบไวแสวงบุญ
    3. สุธารสรับพระเตา เครื่องต้นไปตาม
    4. โดยเสด็จดําเนินแคลว คลาดคลอยบทจร

โครงงานเรื่องสถานที่ท่องเที่ยวหมู่เกาะเสม็ด




ประโยชน์ของโครงงาน
1. ทำให้ทราบถึงความเป็นมาของเกาะเสม็ด
2. เห็นถึงการดำเนินวิถีชีวิตของคนบนเกาะ
3. ทำให้ทราบถึงสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจในจังหวัดระยอง
4. รู้ถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
5. ได้ร่วมมือกับสมาชิกในกลุ่มร่วมกันเก็บขยะตามชายหาดและได้พักผ่อน

วันจันทร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ตัวอย่างโครงงานคอมพิวเตอร์ จากเว็บวิชาการ

ชื่อเว็บ : http://www.vcharkarn.com/project/652

ชื่อโครงงาน : โปรแกรมช่วยอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์อย่างชาญฉลาด

เนื้อหาสาระสำคัญในปัจจุบันหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายเนื่องจากอยู่ในรูปแบบของข้อมูลดิจิตอลขนาดเล็ก ทางผู้พัฒนาโครงงานจึงได้มีแนวความคิดที่จะพัฒนาโปรแกรมเพื่อช่วยให้ผู้อ่านสามารถอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นภาษาอังกฤษได้สะดวกสบายมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังส่งเสริมผู้เพิ่งเริ่มอ่านเกิดความคุ้นเคยกับการอ่านหนังสือในรูปแบบของสื่อสิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ เพื่อเป็นการเพิ่มทักษะการอ่านโดยทางผู้พัฒนาโปรแกรมช่วยอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบชาญฉลาดได้ออกแบบให้โปรแกรมประกอบไปด้วย 4 ระบบย่อยคือ ระบบวิเคราะห์และค้นหาสาระสำคัญของหนังสือ ระบบการค้นหาและแปลคาศัพท์ ระบบในส่วนของการติดต่อกับผู้ใช้ และระบบบุ๊คมาร์ครวมทั้งโน้ตย่อ ซึ่งระบบย่อยเหล่านี้เมื่อนามารวมกัน จะช่วยอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้ในการอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์โดยเน้นผู้ใช้ในกลุ่มนิสิตนักศึกษา และผู้สนใจเป็นหลัก

โปรแกรมที่ใช้สร้าง : Microsoft Visual Studio 2008(C#)
                                    Adobe Photoshop CS
                                    ภาษา XML
                                    ฐานข้อมูลพจนานุกรม Lexitron (LEXiTRON Data 2.0 for Windows)

วันจันทร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2558

วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ขั้นตอนการจัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์

ขั้นตอนการทำโครงงานคอมพิวเตอร์
          1. คัดเลือกหัวข้อโครงงานที่สนใจ
          2. ศึกษาค้นคว้าจากเอกสารและแหล่งข้อมูล
          3. จัดทำเค้าโครงของโครงงาน
          4. การลงมือทำโครงงาน
          5. การเขียนรายงาน
          6. การนำเสนอและแสดงโครงงาน

1. คัดเลือกหัวข้อโครงงานที่สนใจ 
          โดยทั่วไปเรื่องที่จะนำมาพัฒนาเป็นโครงงานคอมพิวเตอร์ มักจะได้มาจากปัญหา คำถาม หรือความสนใจในเรื่องต่างๆ จากการสังเกตสิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบคอมพิวเตอร์ หรือสิ่งต่างๆ รอบตัว ปัญหาที่จะนำมาพัฒนาโครงงานคอมพิวเตอร์ได้จากแหล่งต่างๆ กัน ดังนี้ 
          1. การอ่านค้นคว้าจากหนังสือ เอกสาร หนังสือพิมพ์ หรือวารสารต่างๆ
          2. การไปเยี่ยมชมสถานที่ต่างๆ
          3. การฟังบรรยายทางวิชาการ รายการวิทยุและโทรทัศน์ รวมทั้งการสนทนาอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างเพื่อนนักเรียนหรือกับบุคคลอื่นๆ
          4. กิจกรรมการเรียนการสอนในโรงเรียน
          5. งานอดิเรกของนักเรียน
          6. การเข้าชมงานนิทรรศการหรืองานประกวดโครงงานคอมพิวเตอร์
ในการตัดสินใจเลือกหัวข้อที่จะนำมาพัฒนาโครงงานคอมพิวเตอร์ ควรพิจารณาองค์ประกอบสำคัญ ดังนี้
          1. ต้องมีความรู้และทักษะพื้นฐานอย่างเพียงพอในหัวข้อเรื่องที่จะศึกษา
          2. สามารถจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ และวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องได้
          3. มีแหล่งความรู้เพียงพอที่จะค้นคว้าหรือขอคำปรึกษา
          4. มีเวลาเพียงพอ
          5. มีงบประมาณเพียงพอ
          6. มีความปลอดภัย 

2. ศึกษาค้นคว้าจากเอกสารและแหล่งข้อมูล 
          การศึกษาค้นคว้าจากเอกสารและแหล่งข้อมูล ซึ่งรวมถึงการขอคำปรึกษาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จะช่วยให้นักเรียนได้แนวคิดที่ใช้ในการกำหนดขอบเขตของเรื่องที่จะศึกษาได้เฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้น รวมทั้งได้ความรู้เพิ่มเติมในเรื่องที่จะศึกษาจนสามารถใช้ออกแบบและวางแผนดำเนินการทำโครงงานนั้นได้อย่างเหมาะสม ในการศึกษาจะต้องได้คำตอบว่า
          1. จะทำ อะไร
          2. ทำไมต้องทำ
          3. ต้องการให้เกิดอะไร
          4. ทำอย่างไร
          5. ใช้ทรัพยากรอะไร
          6. ทำกับใคร
          7. เสนอผลอย่างไร 

3. องค์ประกอบของเค้าโครงของโครงงาน 
ควรมีองค์ประกอบต่อไปนี้
1. ชื่อโครงงาน ถ้าเป็นโครงงานเกี่ยวกับเว็บไซต์ ใช้ชื่อโครงงานว่า การพัฒนาเว็บไซต์ เรื่อง ............
ข้างต้น ได้แก่ โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา โครงงานพัฒนาเครื่องมือ โครงงานประเภทการทดลองทฤษฎี
โครงงานประเภทการประยุกต์ใช้งาน และโครงงานพัฒนาเกม
2. ชื่อ สกุล ผู้ทำโครงงาน
3. ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน
4. ระยะเวลาดำเนินงาน ให้ระบุเวลาเป็นจำนวนวัน เป็นต้น
5. แนวคิด ที่มา และความสำคัญ อธิบายว่าเหตุใดจึงเลือกทำโครงงานนี้ โครงงานนี้มีความสำคัญอย่างไร เรื่องที่ทำเป็นเรื่องใหม่หรือมีผู้อื่นศึกษาค้นคว้ามาก่อนบ้างแล้ว ถ้ามีผู้อื่นศึกษามาก่อนแล้วผลที่ได้เป็นอย่างไร และเรื่องที่ทำนี้จะขยายเพิ่มเติม ปรับปรุงจากเรื่องที่ผู้อื่นทำไว้อย่างไร หรือเป็นการทำซ้ำเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของระบบ
6. วัตถุประสงค์ หลักการเขียนต้องเขียนเป็นข้อๆ และสัมพันธ์มาจากชื่อเรื่องของโครงงาน
7. หลักการและทฤษฎี อธิบายถึงหลักการและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับโครงงาน เช่น โครงงานพัฒนาเว็บไซต์ ควรจะกล่าวถึงองค์ประกอบในการออกแบบเว็บไซต์และข้อพิดพลาดในการสร้างเว็บไซต์ เป็นต้น
8. วิธีดำเนินงาน
- อุปกรณ์ที่ต้องใช้ ระบุวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้มีอะไรบ้าง วัสดุอุปกรณ์เหล่านั้นอยู่ที่ใด และมีชิ้นใดบ้างที่ต้องจัดซื้อหรือหยิบยกมาจากที่ต่างๆ
- กำหนดคุณลักษณะของผลงาน และเทคนิคที่ใช้ในการพัฒนา
- แนวทางการศึกษาค้นคว้าและพัฒนา อธิบายถึงกระบวนการแก้ปัญหาที่ออกแบบไว้ และการเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ การพัฒนา การทดสอบ และการนำเสนอผลงาน
- งบประมาณที่ใช้
10. แผนปฏิบัติงาน ใช้ระบุว่า มีแผนหรือขั้นตอนทำอะไรบ้าง แต่ละขั้นตอนใช้เวลากี่วัน เป็นต้น
11. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
12. เอกสารอ้างอิง


4. การลงมือทำโครงงาน 
          เมื่อเค้าโครงของโครงงานได้รับความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษาแล้ว ก็เสมือนว่าการจัดทำโครงงานได้ผ่านพ้นไปแล้วมากกว่าครึ่ง ขั้นตอนต่อไปจะเป็นการลงมือพัฒนาตามขั้นตอนที่วางแผนไว้ ดังนี้
     4.1 การเตรียมการ
          การเตรียมการ ต้องเตรียมเครื่องคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ และวัสดุอื่นๆ ที่จะใช้ในการพัฒนาให้พร้อมด้วย และควรเตรียมสมุดบันทึกหรือบันทึกเป็นแฟ้มข้อความไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ สำหรับบันทึกการทำกิจกรรมต่างๆ ระหว่างทำโครงงาน ได้แก่ ได้ปฏิบัติอย่างไร ได้ผลอย่างไร มีปัญหาและแก้ไขได้หรือไม่อย่างไร รวมทั้งข้อสังเกตต่างๆ ที่พบ
     4.2 การลงมือพัฒนา
          1. ปฏิบัติตามแผนงานที่วางไว้ในเค้าโครง แต่อาจเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมได้ถ้าพบว่าจะช่วยทำให้ผลงานดีขึ้น
          2. จัดระบบการทำงานโดยทำส่วนที่เป็นหลักสำคัญๆ ให้แล้วเสร็จก่อน จึงค่่อยทำ ส่วนที่เป็นส่วนประกอบหรือส่วนเสริมเพื่อให้โครงงานมีความสมบูรณ์มากขึ้น และถ้ามีการแบ่งงานกันทำ ให้ตกลงรายละเอียดในการต่อเชื่อมชิ้นงานที่ชัดเจนด้วย
          3. พัฒนาระบบงานด้วยความละเอียดรอบคอบ และบันทึกข้อมูลไว้อย่างเป็นระบบและครบถ้วน 
     4.3 การทดสอบผลงานและแก้ไข
          การตรวจสอบความถูกต้องของผลงาน เป็นความจำเป็นเพื่อให้แน่ใจว่าผลงานที่พัฒนาขึ้นทำงานได้ถูกต้องตรงกับความต้องการ ที่ระบุไว้ในเป้าหมายและทำด้วยประสิทธิภาพสูงด้วย 
     4.4 การอภิปรายและข้อเสนอแนะ
          เมื่อพัฒนาผลงานเรียบร้อยแล้ว ให้จัดทำสรุปด้วยข้อความที่สั้นกะทัดรัดอย่างครอบคลุม เพื่อช่วยให้ผู้อ่านได้เข้าใจถึงสิ่งที่ค้นพบจากการทำโครงงาน และทำการอภิปรายผลด้วย เพื่อพิจารณาข้อมูลและผลที่ได้ พร้อมกับนำ ไปหาความสัมพันธ์กับหลักการ ทฤษฎี หรือผลงานที่ผู้อื่นได้ศึกษาไว้แล้ว ทั้งนี้ยังรวมถึงการนำหลักการ ทฤษฎี หรือผลงานของผู้อื่นมาใช้ประกอบการอภิปรายผลที่ได้ด้วย
     4.5 แนวทางการพัฒนาโครงงานในอนาคตและข้อเสนอแนะ
          เมื่อทำโครงงานเสร็จสิ้นลงแล้ว นักเรียนอาจพบข้อสังเกต ประเด็นที่สำคัญ หรือปัญหา ซึ่งสามารถเขียนเป็นข้อเสนอแนะและสิ่งที่ควรจะศึกษาและหรือใช้ประโยชน์ต่อไปได้  


5. การเขียนรายงาน 
          การเขียนรายงานเป็นวิธีการสื่อความหมายเพื่อให้ผู้อื่นได้เข้าใจแนวคิด วิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้า ข้อมูลที่ได้ ตลอดจนข้อสรุปและข้อเสนอแนะต่างๆ เกี่ยวกับโครงงานนั้น ในการเขียนรายงานนักเรียนควรใช้ภาษาที่อ่านง่าย ชัดเจน กระชับ และตรงไปตรงมา ให้ครอบคลุมหัวข้อต่างๆเหล่านี้
     5.1 ส่วนนำ
          ส่วนนำ เป็นการให้ข้อมูลเกี่ยวกับโครงงานนั้นซึ่งประกอบด้วย
          1. ชื่อโครงงาน
          2. ชื่อผู้ทำโครงงาน
          3. ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา
          4. คำขอบคุณ เป็นคำกล่าวขอบคุณบุคคลหรือหน่วยงาน ที่มีส่วนช่วยทำให้โครงงานสำเร็จ
          5. บทคัดย่อ อธิบายถึงที่มา ความสำคัญ วัตถุประสงค์ วิธีดำเนินการ และผลที่ได้โดยย่อ
     5.2 บทนำ
          บทนำเป็นส่วนรายละเอียดของเนื้อหาของโครงงานซึ่งประกอบด้วย
          1. ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
          2. เป้าหมายของการศึกษาค้นคว้า
          3. ขอบเขตของโครงงาน
     5.3 หลักการและทฤษฎี
          หลักการและทฤษฎี เป็นส่วนสรุปข้อมูลที่ได้จากการศึกษาหาข้อมูลหรือหลักการ ทฤษฎี หรือวิธีการที่จะนำมาใช้ในการพัฒนาโครงงาน ซึ่งรวมถึงการระบุผลงานของผู้อื่นที่นักเรียนนำมาเปรียบเทียบหรือพัฒนาเพิ่มเติมด้วย 
     5.4 วิธีดำเนินการ
          วิธีดำเนินการ อธิบายขั้นตอนการดำเนินงานโดยละเอียด พร้อมทั้งระบุปัญหาหรืออุปสรรคที่พบพร้อมทั้งวิธีการที่ใช้แก้ไข พร้อมทั้งระบุวัสดุอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการทำงาน  
     5.5 ผลการศึกษา
          ผลการศึกษา นำเสนอข้อมูลหรือระบบที่พัฒนาได้ โดยอาจแสดงเป็นตาราง หรือ กราฟ หรือข้อความ ทั้งนี้ให้คำนึงถึงความเข้าใจของผู้อ่านเป็นหลัก  
     5.6 สรุปผลและข้อเสนอแนะ
          สรุปผลและข้อเสนอแนะ อธิบายผลสรุปที่ได้จากการทำ งาน ถ้ามีการตั้งสมมติฐานควรระบุด้วยว่าข้อมูลที่ได้สนับสนุนหรือคัดค้านสมมติฐานที่ตั้งไว้หรือยังสรุปไม่ได้ นอกจากนั้นยังควรกล่าวถึงการนำ ผลการทดลองหรือพัฒนาไปใช้ประโยชน์ อุปสรรคของการทำโครงงาน หรือข้อสังเกตที่สำคัญ หรือข้อผิดพลาดบางประการที่เกิดขึ้นจากการทำ โครงงานนี้ รวมทั้งข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงแก้ไขหากจะมีผู้ศึกษาค้นคว้าในเรื่องทำนองนี้ต่อไปในอนาคตด้วย  
     5.7 ประโยชน์
          ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงงาน ระบุประโยชน์ที่นักเรียนได้รับจากการพัฒนาโครงงานนั้น และประโยชน์ที่ผู้ใช้จะได้รับจากการนำผลงานของโครงงานไปใช้ด้วย  
     5.8 บรรณานุกรม
          บรรณานุกรม รวบรวมรายชื่อหนังสือ วารสาร เอกสาร หรือเว็บไซด์ต่างๆ ที่ผู้ทำ โครงงานใช้ค้นคว้า หรืออ่านเพื่อศึกษาข้อมูลและรายละเอียดต่างๆ ที่นำมาใช้ประโยชน์ในการทำ โครงงานนี้การเขียนเอกสารบรรณานุกรมต้องให้ถูกต้องตามหลักการเขียนด้วย  
     5.9 การจัดทำคู่มือการใช้งาน
          หาโครงงานที่นักเรียนจัดทำ เป็นการพัฒนาระบบใหม่ขึ้นมา ให้นักเรียนจัดทำคู่มืออธิบายวิธีการใช้ผลงานนั้นโดยละเอียด ซึ่งประกอบด้วย
          1. ชื่อผลงาน
          2. ความต้องการของระบบคอมพิวเตอร์ ระบุรายละเอียดของคอมพิวเตอร์ที่ต้องมีเพื่อจะใช้ผลงานนั้นได้
          3. ความต้องการของซอฟต์แวร์ ระบุรายชื่อซอฟต์แวร์ที่ต้องมีอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อจะให้ผลงานนั้นทำงานได้อย่างสมบูรณ์
          4. คุณลักษณะของผลงาน อธิบายว่าผลงานนั้นทำ หน้าที่อะไรบ้าง รับอะไรเป็นข้อมูลขาเข้าและส่วนอะไรออกมาเป็นข้อมูลขาออก
          5. วิธีการใช้งานของแต่ละฟังก์ชัน อธิบายว่าจะต้องกดคำสั่งใด หรือกดปุ่มใด เพื่อให้ผลงานทำงานในฟังก์ชันหนึ่งๆ   


6. การนำเสนอและแสดงโครงงาน 
          การนำเสนอและการแสดงผลงานเป็นขั้นตอนที่สำคัญอีกขั้นตอนหนึ่งของการทำโครงงาน เพื่อแสดงออกถึงผลิตผลความคิด ความพยายามในการทำงานที่ผู้ทำโครงงานได้ทุ่มเท และเป็นวิธีทำให้ผู้อื่นได้รับรู้และเข้าใจถึงผลงานนั้น การเสนอผลงานอาจทำได้ในหลายรูปแบบต่างๆ กัน เช่น การแสดงผลงานโดยไม่มีการอธิบายประกอบการรายงานด้วยคำพูดในที่ประชุม การจัดนิทรรศการโดยโปสเตอร์และอธิบายด้วยคำพูด เป็นต้น โดยผลงานที่นำมาเสนอหรือจัดแสดงควรประกอบด้วยสิ่งต่อไปนี้
          1. ชื่อโครงงาน
          2. ชื่อผู้จัดทำโครงงาน
          3. ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา
          4. คำอธิบายถึงที่มาและความสำคัญของโครงงาน
          5. วิธีการดำเนินการที่สำคัญ
          6. การสาธิตผลงาน
          7. ผลการสังเกตและข้อสรุปสำคัญที่ได้จากการทำโครงงาน

วันจันทร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ประเภทของสื่อการเรียนรู้


การจำแนกประเภทของสื่อการเรียนรู้

   
      สื่อการเรียนรู้สามารถจำแนกออกตามลักษณะได้เป็น 3 ประเภท คือ

1. สื่อสิ่งพิมพ์ หมายถึง หนังสือและเอกสารสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ที่แสดงหรือเรียบเรียงสาระความรู้ต่าง ๆ โดยใช้ตัวหนังสือที่เป็นตัวเขียน หรือตัวพิมพ์เป็นสื่อในการแสดงความหมาย สื่อสิ่งพิมพ์มีหลายชนิด ได้แก่ เอกสาร หนังสือเรียน หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสาร บันทึก รายงาน ฯลฯ





2. สื่อเทคโนโลยี หมายถึง สื่อการเรียนรู้ที่ผลิตขึ้นใช้ควบคู่กับเครื่องมือโสตทัศนวัสดุ หรือเครื่องมือที่เป็น เทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น แถบบันทึกภาพพร้อมเสียง (วิดีทัศน์) แถบบันทึกเสียง ภาพนิ่ง สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน นอกจากนี้สื่อเทคโนโลยี ยังหมายรวมถึงกระบวนการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในกระบวนการเรียนรู้ เช่น การใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการเรียนรู้ การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม เป็นต้น



3. สื่ออื่น ๆ นอกเหนือจากสื่อ 2 ประเภทที่กล่าวไปแล้ว ยังมีสื่ออื่น ๆ ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน ซึ่งมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อเทคโนโลยี สื่อที่กล่าวนี้ ได้แก่
    
 3.1 บุคคล หมายถึง บุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญในสาขาต่าง ๆ ซึ่งสามารถถ่ายทอด สาระความรู้ แนวคิดและ ประสบการณ์ไปสู่บุคคลอื่น เช่น บุคลากรในท้องถิ่น แพทย์ ตำรวจ นักธุรกิจ เป็นต้น 


  
   3.2 ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หมายถึง สิ่งมีอยู่ตามธรรมชาติและสภาพแวดล้อมตัวผู้เรียน เช่น พืชผักผลไม้ ปรากฏการณ์ ห้องปฏิบัติการ เป็นต้น



     3.3 กิจกรรม / กระบวนการ หมายถึง กิจกรรมหรือกระบวนการที่ผู้สอนและผู้เรียนกำหนดขึ้นเพื่อสร้างเสริมประสบการณ์การเรียนรู้ ใช้ในการฝึกทักษะซึ่งต้องใช้กระบวนการคิด การปฏิบัติ การเผชิญสถานการณ์และ การประยุกต์ความรู้ของผู้เรียน เช่น บทบาทสมมติ การสาธิต การจัดนิทรรศการ การทำโครงงาน เกม เพลง เป็นต้น 



     3.4 วัสดุ เครื่องมือและอุปกรณ์ หมายถึง วัสดุที่ประดิษฐ์ขึ้นใช้เพื่อประกอบการเรียนรู้ เช่น หุ่มจำลอง แผนภูมิ แผนที่ ตาราง สถิติ รวมถึงสื่อประเภทเครื่องมือและอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ในการปฏิบัติงานต่าง ๆ เช่น อุปกรณ์ทดลองวิทยาศาสตร์ เครื่องมือช่าง เป็นต้น





แหล่งอ้างอิง http://www.st.ac.th/av/media_kind.htm

โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา (Educational Media)

โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษาเป็นอย่างไร?

    ลักษณะเด่นของโครงงานประเภทนี้ คือ เป็นโครงงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการผลิตสื่อเพื่อการศึกษา โดยการสร้างโปรแกรมบทเรียนหรือหน่วยการเรียน ซึ่งอาจจะต้องมีภาคแบบฝึกหัด บททบทวน และคำถามคำตอบไว้พร้อม ผู้เรียนสามารถเรียนแบบรายบุคคลหรือรายกลุ่มการสอน โดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนนี้ ถือว่าคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์การสอน ซึ่งอาจเป็นการพัฒนาบทเรียนแบบออนไลน์ ให้ผู้เรียนเข้ามาศึกษาด้วยตนเองก็ได้ โครงงาน ประเภทนี้สามารถพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ประกอบการสอนในวิชาต่างๆ โดยผู้เรียนอาจคัดเลือกเนื้อหาที่เข้าใจยาก มาเป็นหัวข้อในการพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา ตัวอย่างโครงงาน เช่น การเคลื่อนที่แบบโปรเจ็กไตล์ ระบบสุริยจักรวาล ตัวแปรต่างๆ ที่มีผลต่อการชำกิ่งกุหลาบ หลักภาษาไทย และสถานที่สำคัญของประเทศไทย เป็นต้น





ตัวอย่าง โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา (Educational Media)

สื่อเพื่อการศึกษา โปรแกรมบทเรียนเป็นโครงงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการพัฒนาสื่อการเรียนการสอน โดยอสร้างเป็นโปรแกรมบทเรียน หรือบทเรียนออนไลน์ ที่อาจมีแบบฝึกหัดหรือคำถามเพื่อทดสอบ โครงงานประเภทนี้สามารถพัฒนาขึ้นเพื่อประกอบการเรียนการสอนในเนื้อหาวิชาต่าง ๆ เช่น บทเรียนออนไลน์เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่ บทเรียนออนไลน์เรื่องชุดกล่องสมองกล หนังสือเรียนอิเล็กทรอนิกส์เรื่องสำนวนสุภาษิต



โครงงานคอมพิวเตอร์

โครงงาน (Project) หมายถึงอะไร

- กิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ศึกษา ค้นคว้าและลงมือปฏิบัติด้วยตนเองตามความสามารถ ความถนัด และความสนใจ โดยอาศัยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หรือกระบวนการอื่นใดไปใช้ในการศึกษาหาคำตอบในเรื่องนั้นๆ โดยมีครูผู้สอนคอยกระตุ้นแนะนำและให้คำปรึกษาแก่ผู้เรียนอย่างใกล้ชิด ตั้งแต่การเลือกหัวข้อที่จะศึกษา ค้นคว้า ดำเนินการ วางแผน กำหนดขั้นตอนการดำเนินงาน โดยทั่วๆ ไป การทำโครงงานสามารถทำได้ทุกระดับการศึกษา ซึ่งอาจทำเป็นรายบุคคลหรือเป็นกลุ่มก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะของโครงงาน อาจเป็นโครงงานเล็กๆ ที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อนหรือเป็นโครงงานใหญ่ที่มีความยากและซับซ้อนขึ้นก็ได้

What is project ?

- The research project is about any one thing. Or many other things that I know the answer to deepen or learn more about it. The process How the education system. The steps are planned thoroughly studied. Operational as planned The conclusions or the conclusions that the answer in the subject.


โครงงานคอมพิวเตอร์ หมายถึงอะไร ?

     หมายถึง กิจกรรมการเรียนที่นักเีรียนมีอิสระในการเลือกศึกษาปัญหาที่ตนเองสนใจ โดยจะต้องวางแผนการดำเนินงาน ศึกษา พัฒนาโปรแกรม โดยใช้ความรู้ทางกระบวนการวิศวกรรมซอฟต์แวร์ เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนทักษะพื้นฐานในการพัฒนาโครงงาน เรื่องที่นักเรียนสนใจและคิดจะทำโครงงาน ซึ่งอาจมีผู้ศึกษามาก่อน หรือเป็นเรื่องที่นักพัฒนาโปรแกรมได้เคยค้นคว้าและพัฒนาแล้ว นักเรียนสามารถทำโครงงานเรื่องดังกล่าวได้ แต่ต้องคิดดัดแปลงแนวทางในการศึกษา การวิเคราะห์ข้อมูล การพัฒนาโปรแกรม หรือศึกษาเพิ่มเติมจากผลงานเดิมที่มีผู้รายงานไว้ จุดมุ่งหมายสำคัญของการทำโครงงานเป็นการเปิดโอกาสให้นักเรียนได้รับประสบการณ์ตรงในการใช้ระบบคอมพิวเตอร์แก้ปัญหา ประดิษฐ์คิดค้น หรือค้นคว้าหาความรู้ต่างๆ ใช้คอมพิวเตอร์ในการพัฒนาสื่อการเรียนรู้เพื่อการศึกษา ประดิษฐ์ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ หรืออุปกรณ์ใช้สอยต่างๆ พัฒนาโปรแกรมประยุกต์ต่างๆ ตลอดจนการพัฒนาเกมคอมพิวเตอร์ เพื่อฝึกให้นักเรียนเป็นบุคคลที่ใฝ่เรียนใฝ่รู้ การพัฒนาความคิดใหม่ๆ ความมีคุณธรรมจริยธรรม เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ให้กับเพื่อนมนุษย์ และอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข

ประเภทของโครงงานคอมพิวเตอร์
     
คอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยในทุก ๆ สาขาวิชา ดังนั้นโครงงานคอมพิวเตอร์จึงมีความหลากหลายเป็นอย่างมาก ทั้งในลักษณะของเนื้อหา กิจกรรม และลักษณะของประโยชน์หรือผลงานที่ได้ ซึ่งอาจแบ่งเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 5 ประเภท คือ

     1. โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา (Educational Media)
     2. โครงงานพัฒนาเครื่องมือ (Tools Development)
     3. โครงงานประเภทจำลองทฤษฎี (Theory Experiment)
     4. โครงงานประเภทการประยุกต์ใช้งาน (Application)
     5. โครงงานพัฒนาเกม (Game Development)
1.โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา (Educational Media)

     เป็นโครงงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการผลิตสื่อเพื่อการศึกษา โดยการสร้างโปรแกรมบทเรียน หรือหน่วยการเรียน ซึ่งอาจจะต้องมีภาคแบบฝึกหัด บททบทวน และคำถามคำตอบไว้พร้อม ผู้เรียนสามารถเรียนแบบรายบุคคลหรือรายกลุ่ม การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยนี้ ถือว่าเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์การสอน ไม่ใช่เป็นครูผู้สอน ซึ่งอาจเป็นการพัฒนาบทเรียนแบบ Online ให้นักเรียนเข้ามาศึกษาด้วยตนเองก็ได้
     โครงงานประเภทนี้สามารถพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ประกอบการสอนในวิชาต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นสาขาคอมพิวเตอร์ วิชาคณิตศาสตร์ วิชาวิทยาศาสตร์ วิชาสังคม วิชาชีพอื่น ๆ ฯลฯ โดยนักเรียนอาจคัดเลือกหัวข้อที่นักเรียนทั่วไปที่ทำความเข้าใจยาก มาเป็นหัวข้อในการพัฒนาโปรแกรมบทเรียน ตัวอย่างเช่น โปรแกรมสอนวิธีการใช้งาน ระบบสุริยะจักรวาล โปรแกรมแบบทดสอบวิชาต่าง ๆ
         
2.โครงงานพัฒนาเครื่องมือ (Tools Development)
         
     เป็นโครงงานเพื่อพัฒนาเครื่องมือมาใช้ช่วยสร้างงานประยุกต์ต่าง ๆ ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะเป็นในรูปซอฟต์แวร์ ตัวอย่างของเครื่องมือช่วยงาน เช่น ซอฟต์แวร์วาดรูป ซอฟต์แวร์พิมพ์งาน ซอฟต์แวร์ช่วยการมองวัตถุในมุมต่าง ๆ เป็นต้น สำหรับซอฟต์แวร์เพื่อการพิมพ์งานนั้นสร้างขึ้นเป็นโปรแกรมประมวลผลภาษา ซึ่งจะเป็นเครื่องมือให้เราใช้งานในงานพิมพ์ต่าง ๆ บนเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นไปได้โดยง่าย ซึ่งรูปที่ได้สามารถนำไปใช้งานต่าง ๆ ได้มากมาย สำหรับซอฟต์แวร์ช่วยในการมองวัตถุในมุมต่าง ๆ ใช้สำหรับช่วยในการออกแบบสิ่งของต่าง ๆ เช่น โปรแกรมประเภท 3D
         
3. โครงงานประเภทจำลองทฤษฎี (Theory Experiment)
 
     เป็นโครงงานใช้คอมพิวเตอร์ในการจำลองการทดลองของสาขาต่าง ๆ เป็นโครงงานที่ผู้ทำต้องศึกษารวบรวมความรู้ หลักการ ข้อเท็จจริงและแนวความคิดต่าง ๆ อย่างลึกซึ้งในเรื่องที่ต้องการศึกษา แล้วเสนอเป็นแนวคิด แบบจำลอง หลักการ ซึ่งอาจอยู่ในรูปของสมการ สูตร หรือคำอธิบายก็ได้ พร้อมทั้งนำเสนอวิธีการจำลองทฤษฎีด้วยคอมพิวเตอร์ การทำโครงงานประเภทนี้มีจุดสำคัญอยู่ที่ผู้ทำต้องมีความรู้เรื่องนั้น ๆ เป็นอย่างดี ตัวอย่าง เช่น การทดลองเรื่องการไหลของเหลว การทดลองเรื่องพฤติกรรมของปลาอโรวาน่า ทฤษฎีการแบ่งแยกดีเอ็นเอ เป็นต้น
 
4. โครงงานประเภทการประยุกต์ใช้งาน(Application)

     เป็นโครงงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการสร้างผลงานเพื่อประยุกต์ใช้งานจริงในชีวิตประจำวัน เช่น ซอฟต์แวร์สำหรับการออกแบบและตกแต่งอาคาร ซอฟต์แวร์สำหรับการผสมสี ซอฟต์แวร์สำหรับการระบุคนร้าย เป็นต้น โครงงานงานประเภทนี้จะมีการประดิษฐ์ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ หรืออุปกรณ์ใช้สอยต่าง ๆ ซึ่งอาจจะสร้างใหม่หรือปรับปรุงดัดแปลงของเดิมที่มีอยู่แล้วให้มี ประสิทธิภาพสูงขึ้นก็ได้ โครงงานลักษณะนี้จะต้องศึกษาและวิเคราะห์ความต้องการของผู้ใช้ก่อน แล้วนำข้อมูลที่ได้มาใช้ในการออกแบบ และพัฒนาสิ่งของนั้น ๆ ต่อจากนั้นต้องมีการทดสอบการทำงานหรือทดสอบคุณภาพของสิ่งประดิษฐ์แล้วปรับปรุงแก้ไขให้มีความสมบูรณ์ โครงงานประเภทนี้นักเรียนต้องใช้ความรู้เกี่ยวกับเครื่องคอมพิวเตอร์ ภาษาโปรแกรม และเครื่องมือต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งอาจใช้วิธีทางวิศวกรรมฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ในการพัฒนาด้วย

5. โครงงานพัฒนาเกม (Game Development)
         
     เป็นโครงงานพัฒนาซอฟต์แวร์เกมเพื่อความรู้ และ/หรือ ความเพลิดเพลิน เช่น เกมหมากรุก เกมหมากฮอส เกมการคำนวณเลข ซึ่งเกมที่พัฒนาขึ้นนี้น่าจะเน้นให้เป็นเกมที่ไม่รุนแรง เน้นการใช้สมองเพื่อฝึกคิดอย่างมีหลักการ โครงงานประเภทนี้จะมีการออกแบบลักษณะและกฎเกณฑ์การเล่น เพื่อให้น่าสนใจเก่ผู้เล่น พร้อมทั้งให้ความรู้สอดแทรกไปด้วย ผู้พัฒนาควรจะได้ทำการสำรวจและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเกมต่าง ๆ ที่มีอยู่ทั่วไปและนำมาปรับปรุงหรือพัฒนาขึ้นใหม่เพื่อให้ป็นเกมที่แปลกใหม่ และน่าสนใจแก่ผู้เล่นกลุ่มต่าง ๆ



วันอาทิตย์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

จรรยาบรรณของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต

จรรยาบรรณสำหรับผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ต
ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตนั้น มีเป็นจำนวนมาก และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นการใช้งานระบบเครือข่ายนี้ก็ย่อมจะมีผู้ที่ประพฤติไม่ดี และสร้างปัญหาให้กับผู้อื่นเสมอ ดังนั้นแต่ละเครือข่ายจึงต้องมีการกำหนดกฎเกณฑ์ข้อบังคับไว้ และในฐานะผู้ใช้งานที่ได้รับสิทธิ์ ให้ใช้งานเครือข่ายนั้นก็ควรที่จะต้องเข้าใจ และปฏิบัติตามกฎที่ได้ถูกวางไว้ เพื่อให้การอยู่ร่วมกันในระบบอินเตอร์เน็ตเป็นไปอย่างสงบสุข จึงได้มีผู้พยายามรวบรวม กฎ กติกา มารยาท และวางเป็นจรรยาบรรณอินเตอร์เน็ต หรือที่เรียกว่า Netiquetteความรับผิดชอบต่อสังคม เป็นเรื่องที่จะต้องปลูกฝัง กฎเกณฑ์ของแต่ละเครือข่าย จึงต้องมีและวางระเบียบเพื่อให้ดำเนินงานเป็นไปอย่างมีระบบ และเอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน อนาคตของการใช้เครือข่าย ยังมีอีกมาก จรรยาบรรณจึงเป็นสิ่งที่ช่วยให้ สังคมสงบสุข
จรรยาบรรณ ที่ผู้ใช้อินเตอร์เน็ต ต้องยึดถือไว้เสมือนเป็น แม่บทแห่งการปฏิบัติเพื่อระลึกและ เตือนความจำอยู่เสมอ
บัญญัติ 10 ประการ คือ
1. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อทำร้าย หรือละเมิดผู้อื่น
2. ต้องไม่รบกวนการทำงานของผู้อื่น
3. ต้องไม่สอดแนม หรือมาแก้ไขเปิดดูแฟ้มข้อมูลของผู้อื่น
4. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร
5. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ
6. ต้องไม่คัดลอกโปรแกรม ที่ผู้อื่นมีลิขสิทธิ์ และไม่ได้รับการอนุญาต
7. ต้องไม่ละเมิด การใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์ โดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ์
8. ต้องไม่นำเอาผลงานของผู้อื่น มาเป็นของตน
9. ต้องคำนึงถึง สิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคม อันติดตามมาจาก การกระทำของตน
10. ต้องใช้คอมพิวเตอร์โดยเคารพ กฎระเบียบ กติกา มารยาท


จรรยาบรรณ เกี่ยวกับการใช้ ระบบสนทนาแบบ Online

1. ควรเรียกสนทนาจากผู้ที่เรารู้จัก และต้องการจะสนทนาด้วย หรือมีเรื่องสำคัญที่จะติดต่อด้วย
2. ควรระลึกเสมอว่าการขัดจังหวะผู้อื่น ที่กำลังทำงานอยู่อาจจะสร้างปัญหาได้
3. ก่อนการเรียกคู่สนทนา ควรตรวจสอบสถานะ การใช้งานของคู่สนทนา ที่ต้องการเรียก เสียก่อนเพราะการเรียกแต่ละครั้ง จะมีข้อความไปปรากฏที่หน้าจอ ของฝ่ายที่ถูกเรียก ซึ่งก็สร้างปัญหาในการทำงานได้ เช่น ขณะกำลังทำงานค้าง FTP อยู่ ซึ่งไม่สามารถหยุดได้
4. หลังจากเรียกไปชั่วขณะ คู่ที่ถูกเรียกไม่ตอยกลับ แสดงว่าคู่สนทนาอาจติดงานสำคัญ ขอให้หยุดการเรียก เพราะข้อความที่เรียกไป ปรากฏบนจออย่างแน่นอนแล้ว
5. ควรใช้วาจาสุภาพ และให้เกียรติซึ่งกันและกัน

จรรยาบรรณเกี่ยวกับเวิล์ดไวด์เว็บ

1) ห้ามใส่รูปภาพที่มีขนาดใหญ่ไว้ในเว็บเพจของท่าน เพราะทำให้ผู้ที่เรียกดูต้องเสียเวลามากในการแสดงภาพเหล่านั้น ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตส่วนมากเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วยโมเด็ม ทำให้ผู้เรียกดูรูปภาพขนาดใหญ่ เบื่อเกินกว่าที่จะรอชมรูปภาพนั้นได้
2 ) เมื่อเว็บเพจของท่านต้องการสร้าง link ไปยังเว็บเพจของผู้อื่น ท่านควรแจ้งให้เจ้าของ
เว็บเพจ นั้นทราบ ท่านสามารถแจ้งได้ทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์
3 ) ถ้ามีวิดีโอหรือเสียงบนเว็บเพจ ท่านควรระบุขนาดของไฟล์วิดีโอหรือไฟล์เสียงไว้ด้วย (เช่น 10 KB, 2 MB เป็นต้น) เพื่อให้ผู้เรียกดูสามารถคำนวนเวลาที่จะใช้ในการดาวน์โหลดไฟล์วิดีโอหรือไฟล์เสียงนั้น
4 ) ท่านควรตั้งชื่อ URL ให้ง่าย ไม่ควรมีตัวอักษรตัวใหญ่ปนกับตัวอักษรตัวเล็ก ซึ่งจำได้ยาก
5 ) ถ้าท่านต้องการเรียกดูข้อมูลจาก URL ที่ไม่ทราบแน่ชัด ท่านสามารถเริ่มค้นหาจาก domain address ได้ โดยปกติ URL มักจะเริ่มต้นด้วย www แล้วตามด้วยที่อยู่ของเว็บไซด์
เช่น http://www.nectec.or.th/ http://www.tv5.co.th
6 ) ถ้าเว็บไซด์ของท่านมี link เชื่อมโยงไปยังเว็บเพจอื่นๆ ด้วยรูปภาพเท่านั้น อาจทำให้ผู้เรียกดูที่ใช้โปรแกรมบราวเซอร์ที่ไม่สนับสนุนรูปภาพ ไม่สามารถเรียกชมเว็บไซด์ของท่านได้ ท่านควรเพิ่ม link ที่เป็นตัวหนังสือเพื่อเชื่อมโยงไปยังเว็บเพจอื่นๆ ด้วย
7) ท่านไม่ควรใส่รูปภาพที่ไม่มีความสำคัญต่อข้อมูลบนเว็บเพจ เนื่องจากไฟล์ของรูปภาพมีขนาดใหญ่ ทำให้เสียเวลาในการเรียกดูและสิ้นเปลือง bandwidth โดยไม่จำเป็น
8 ) ท่านควรป้องกันลิขสิทธิ์ของเว็บไซด์ด้วยการใส่เครื่องหมาย trademark (TM) หรือเครื่องหมายCopyright ไว้ในเว็บเพจแต่ละหน้าด้วย
9) ท่านควรใส่ email address ของท่านไว้ด้านล่างของเว็บเพจแต่ละหน้า เพื่อให้ผู้เรียกชมสามารถสอบถามเพิ่มเติม หรือติดต่อท่านได้
10) ท่านควรใส่ URL ของเว็บไซด์ไว้ด้านล่างของเว็บเพจแต่ละหน้าด้วย เพื่อเป็นแหล่งอ้างอิงในอนาคตสำหรับผู้ที่สั่งพิมพ์เว็บเพจนั้น
11 ) ท่านควรใส่วันที่ของการแก้ไขข้อมูลบนเว็บไซด์ครั้งสุดท้ายไว้ด้วย เพื่อให้ผู้เรียกชมทราบว่าข้อมูลที่ได้รับนั้น มีความทันสมัยเพียงใด
12 ) ห้ามไม่ให้เว็บไซด์ของท่านมีเนื้อหาที่ละเมิดลิขสิทธิ์ มีเนื้อหาที่ตีความไปในทางลามกอนาจารหรือการใช้ความรุนแรง เนื้อหาที่ขัดต่อกฎหมาย ผู้จัดทำเว็บไซด์จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อเนื้อหาและข้อมูลทั้งหมดในเว็บไซด์นั้น

บริการบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

1. จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail หรือ Electronic mail) 

บริการส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ โดยการพิมพ์จดหมายในคอมพิวเตอร์ แล้วส่งผ่านสายโทรศัพท์ (Dial-up line) หรือสาย LAN (Local area network) ในองค์กร ไปให้เพื่อนได้ง่าย โดยไม่ใช้แสตมป์ และส่วนใหญ่จะถึงผู้รับในเกือบทันที สามารถส่งภาพ หรือเสียง แม้แต่แฟ้ม Video เช่น Mpeg หรือ AVI เป็นต้น สำหรับนักเรียน นักศึกษา ที่ไปเยี่ยมบ้านในต่างจังหวัด สามารถส่งผลงานให้อาจารย์ หรือเพื่อน ที่อยู่ในอีกจังหวัดหนึ่งได้ พ่อแม่ที่อยู่เมืองไทย อาจส่งจดหมายไปคุยกับลูกที่ Texas หรือ London ได้ พ่อค้าสามารถใช้ e-mail สอบถามราคา หรือตกลงซื้อขายกับลูกค้า POP3 (Post Office Protocol 3) คือมาตรฐานหนึ่งของ Mail server เพื่อให้บริการผู้ใช้สามารถอ่าน e-mail จากเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเช่น ที่บ้าน ที่ทำงาน และเก็บ e-mail ไว้อ่านแม้ไม่ได้ online แต่การอ่าน mail วิธีนี้ต้องกำหนด SMTP (Simple Mail Transfer Protocol) เพื่อใช้สำหรับการส่ง e-mail ที่เขียนใหม่ หรือตอบจดหมาย โปรแกรมที่นิยมใช้อ่าน e-mail เช่น Outlook, Eudora หรือ Netscape mail เป็นต้น เว็บที่ให้บริการเช่น softhome.net, siammail.com หรือ hotpop.com เป็นต้น สำหรับวิธีการติดตั้งค่า หรือข้อกำหนด อ่านได้จาก http://www.siammail.com/email_m.htm หรือ http://www.softhome.net/help/pop.html ปัญหาใหญ่ของบริการนี้คือ อ่าน e-mail จากเครื่องที่ไม่ได้ใช้ประจำได้ลำบาก เช่นเดินทางไปต่างจังหวัด แต่ต้องการเปิด e-mail ฉบับเดิมที่เคยเขียน หรือต้องการข้อมูลจากสมุดที่อยู่ (Address book) เป็นต้น Web-based e-mail คือบริการให้ผู้ใช้สามารถอ่าน e-mail จากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อาจมีผู้ใช้หลายคน เช่นในห้องปฏิบัติการ หรือร้าน internet ได้สะดวก โดยใช้ Browser เช่น IE, Netscape, Neoplanet หรือ Opera เป็นต้น เมื่ออ่านแล้วจะไม่มีข้อมูลเหลืออยู่ในคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นอีก เพราะทุกอย่างถูกเก็บที่ Mail server เว็บที่ให้บริการเช่น hotmail.com, yahoo.com, lampang.net, chaiyo.com, thaimail.com หรือ thaiall.com เป็นต้น ปัญหาใหญ่ของบริการนี้คือ จำกัดขนาดของ e-mail จึงต้องอ่าน และลบ e-mail เสมอ หรือ มีป้ายโฆษณา(Advertising banner) ขึ้นมากวนใจ แต่มีตัวเลือกให้จ่ายเงิน เพื่อไม่ให้แสดงป้ายโฆษณา และเพิ่มบริการที่อำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้มากขึ้น


2. เว็บไซต์(Web site) และบริการสืบค้น(Search engine) 

นายเบอร์เนอร์ ลี(Berners-Lee) แห่ง CERN ได้พัฒนา HTTP (HyperText Transfer Protocol) ตั้งแต่ปีพ.ศ.2533(ค.ศ.1990) ทำให้เกิดบริการ WWW(World Wide Web) ที่สามารถเปิดดูข้อมูลได้ทั้งภาพ และเสียง จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เกิดเว็บไซต์อย่างทุกวันนี้ โดยใช้มาตรฐานการเชื่อมต่อ TCP/IP ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องสื่อสารกันได้ทุกระบบ เมื่อต้องการข้อมูล การเข้าไปยัง web site เพื่อหาข้อมูล จึงกลายเป็นสิ่งจำเป็น เพราะสะดวก และเร็วกว่าการไปที่ห้องสมุด ปัจจุบันมีเว็บให้บริการสืบค้น เหมือนตู้บัตรรายการ ที่ผู้เขียนแนะนำ 4 เว็บ คือ google.com, alltheweb.com, yahoo.com และ siamguru.com ซึ่งเป็นบริการที่ทำให้ทราบว่ามีเว็บใด มีข้อมูลตาม คำสืบค้น(Keyword) ที่ระบุ โดยหาได้ทั้งข้อมูลเว็บไซต์ ภาพ และแฟ้มข้อมูล ตัวอย่างการสืบค้นข้อมูลเช่น ต้องการหาว่า วิทยาลัยโยนก มีเว็บไซต์ชื่ออะไร หรือเว็บใดมีข้อมูลบ้าง สามารถเข้าไปที่ http://www.alltheweb.com แล้วพิมพ์คำว่า วิทยาลัยโยนก ในช่องว่าง แล้วกดปุ่ม Search จะพบชื่อเว็บ และคำอธิบายข้อมูลของวิทยาลัยโยนก เว็บแรกที่พบก็คือ http://www.yonok.ac.th เป็นต้น ข้อมูลจากเว็บไซต์มีทั้งภาพ และเสียง ซึ่งรวมไปถึงแฟ้มทั้งหมดที่ใช้ในคอมพิวเตอร์ เช่นแฟ้มที่มีนามสกุล zip, doc, pdf, xls, mdb หรือ mp3 เป็นต้น จึงไม่จำกัดว่า เปิดเว็บเพื่อดูข้อมูล ภาพ หรือเสียง เพราะบางองค์กร ได้ส่งแฟ้มข้อมูลที่เป็น Microsoft access (.mdb) ให้กับผู้สนใจได้ download หรือหน่วยงานของรัฐบางแห่ง ส่งแฟ้ม Microsoft excel (.xls) ซึ่งเก็บข้อมูลสถิติให้ประชาชนได้นำไปใช้ประโยชน์ เว็บไซต์(Web site) หมายถึงแหล่งรวมเว็บเพจทั้งหมด เช่นเว็บไซต์ของวิทยาลัยโยนก ก็คือการรวมทุกเว็บเพจ ที่อยู่ภายใต้ชื่อ http://www.yonok.ac.th คำว่าโฮมเพจ(Home page) หมายถึงเว็บเพจหน้าแรก โดยปกติจะหมายถึงแฟ้ม index.html ส่วนคำว่าเว็บเพจ(Webpage) คือหน้าเอกสารข้อมูลแต่ละหน้า ที่อยู่ในเว็บไซต์ เช่น กระดานข่าว ข้อมูลหลักสูตร หรือข้อมูลบุคลากร เป็นต้น



3. ไออาซี (IRC - Internet relay chat) 

บริการที่ทำให้คนทั่วโลกสามารถคุยกันผ่านแป้นพิมพ์ พร้อมกันหลายคน หรือจะกระซิบคุยกัน 2 คนก็ได้ โดยเลือกห้องที่ตนสนใจ และในห้องนั้นจะมีผู้ได้รับสิทธิ์ในการดูแล หากผู้ใดประพฤติตัวไม่เหมาะสมกับกลุ่ม ก็จะถูกขับออกไป การที่อินเทอร์เน็ตได้รับความนิยมอย่างสูงในหมู่วัยรุ่น ก็เพราะพวกเขาสามารถคุยเปิดใจกับใครก็ได้ โดยไม่ต้องบอกชื่อจริง หรือจะโกหกก็ไม่มีใครทราบ ในผู้ใช้บางกลุ่มจะสร้างสังคม และติดต่อสื่อสาร เพื่อช่วยเหลือสมาชิก มีการนัดพบปะสังสรรค์ แต่มีด้านดีก็ย่อมมีด้านเสีย เพราะบางคนอาจสนใจจะใช้ IRC หาเพื่อนเพียงอย่างเดียว โดดเรียน ไม่อ่านหนังสือ นั่งคุยกันได้จนดึก บางครั้งอาจถูกผู้ไม่หวังดีหลอกลวง โดยไม่พิจารณาข้อมูลที่ได้รับ จนก่อให้เกิดความเสียหาย โปรแกรมที่ได้รับความนิยมคือ PIRCH และ MIRC เป็นต้น เว็บที่หาข้อมูลเรื่องนี้ได้คือ pirchat.com, pirch.com, mirc.com, thaiirc.in.th, irc.narak.com, irchelp.org และ irc.org เป็นต้น




4. ไอซีคิว (ICQ) 

 คำว่า ICQ ออกเสียงเหมือน "I seek you" ถ้าท่านให้ฝรั่งพูดคำว่า "I seek you" อย่างเร็ว คนไทยฟังแล้ว จะได้ยินเสียงเหมือนพูดคำว่า ICQ และนี่ก็คือที่มาของชื่อโปรแกรม ที่นิยมใช้กันทั่วโลก บริการนี้ทำให้ผู้ใช้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ง่าย สามารถที่จะคุยกับเพื่อนได้สะดวก เพราะโปรแกรมจะแสดงรายชื่อของเพื่อน เมื่อมีการเปิดเครื่องขึ้น จะแสดงสถานะให้ทราบว่าเพื่อนคนใดพร้อมรับข้อความ และสามารถคุยได้คล้ายโปรแกรม IRC แต่ ICQ จะมีความเฉพาะเจาะจงกว่า เพราะทุกคนจะมีเลขประจำตัว 1 เลขเสมอ สำหรับผู้เขียนได้เลข 20449588 ซึ่งทั้งโลกนี้มีผู้เขียนคนเดียวที่ได้เลขนี้ ความสามารถของ ICQ นอกจากการคุยกับเพื่อนผ่านแป้นพิมพ์ การส่งข้อความในกรณีที่ผู้รับไม่อยู่ ข้อความก็จะถูกฝากไว้ที่ server เหมือน e-mail เมื่อผู้รับกลับมาเปิด ICQ จะได้รับข้อความ และบริการ ICQPhone ทำให้ใช้ไมโครโฟน(Microphone) และลำโพง(Speaker) ที่ต่อกับคอมพิวเตอร์ คุยกับเพื่อน จากคอมพิวเตอร์ ถึงคอมพิวเตอร์ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม เพียงแต่เครื่องทั้ง 2 จะต้องมีไมโครโฟน ลำโพง และความเร็วในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตที่เหมาะสม แต่ถ้าต้องการโทรเข้าโทรศัพท์บ้านก็ทำได้ แต่เป็นบริการเสริมที่ต้องมีค่าใช้จ่ายเป็นนาที นอกจากนี้ยังสามารถอ่าน e-mail จาก POP server ได้หลาย server เมื่อมี e-mail เข้ามาใหม่ โปรแกรมจะส่งเสียงเตือนให้ทราบทันที สามารถส่งข้อความเข้ามือถือของเพื่อนด้วยบริการ SMS หรือ ส่งแฟ้ม เพลง ภาพให้เพื่อนก็ทำได้ บริษัท Mirabilis ก่อตั้งในเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2539(ค.ศ.1996) เพื่อให้บริการ ICQ สำหรับการติดต่อสื่อสารระหว่างสมาชิก มีสมาชิกในปัจจุบันไม่ต่ำกว่า 160 ล้านคน ต่อมาบริษัทถูกซื้อโดย AOL(American online) ในเดือนมิถุนายน พ.ศ.2541(ค.ศ.1998) เว็บไซต์ที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับ ICQ คือ icq.com, thaiicq.com, icqplus.org และ 1001icqskins.com เป็นต้น คู่แข่งที่น่าจับตาของ ICQ คือ Hotmail messenger และ Yahoo messenger เพราะมีบริการที่ใกล้เคียงกับ ICQ และได้รับความนิยมมากขึ้น เพราะเป็นทางเลือกที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย เป็นของใหม่ ใช้ร่วมกับระบบ e-mail ได้ดี และแปลกกว่าเดิม ซึ่งเป็นปกติของมนุษย์ ที่ชอบของใหม่ ฟรี มีประโยชน์ และน่าเชื่อถือ


5. พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce)

 วิธีการหนึ่งที่เอื้อให้การค้าขายเกิดขึ้น เป็นการใช้ประโยชน์จากอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อทำให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ใช้เทคโนโลยีที่หลากหลาย และครอบคลุมรูปแบบทางการเงินในปัจจุบันเช่น ธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ การค้าอิเล็กทรอนิกส์ การแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือการประชุมทางไกล เป็นต้น ความหมายที่กระชับขึ้นของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือกิจกรรมทุกรูปแบบที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมเชิงพาณิชย์ ทั้งในระดับองค์กร และส่วนบุคคล บนพื้นฐานของการนำเสนอข้อมูล การประมวลผล และการส่งข้อมูลดิจิตอล ที่มีทั้งข้อมูลอักษร ภาพ และเสียง




6. การเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์(E-learning หรือ Electronic learning) 

บริการที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถเรียนหนังสือ โดยไม่จำเป็นต้องเข้าไปนั่งในชั้นเรียน แต่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นสื่อ จะเรียนที่ไหน (Anywhere) เมื่อใด(Anytime) ก็ได้ ผู้เรียนสามารถนั่งเรียนด้วยตนเอง แบบเป็นขั้นตอนบทต่อบท หากสงสัยก็สามารถติดต่อสอบถามจนเข้าใจ และมีการสอบวัดผล เพื่อประเมินผลการเรียนรู้ โดยสรุปแล้วการเรียนแบบ Online มักมีลักษณะสำคัญ 4 ประการ คือ เผยแพร่ความรู้เป็นขั้นตอน(Follow by contents), มีการสอบวัดผล ประเมินผล(Evaluation), มีระบบตอบข้อซักถาม(Reply the student question) และมีการบริหารจัดการ(Management Education System) สำหรับเว็บที่เกี่ยวข้องเช่น thai2learn.com, learn.in.th, onlinetraining.in.th, nectec.or.th/courseware, elearningmag.com และ elearningexpos.com เป็นต้น ถ้าท่านคิดจะทำ e-learning เพื่อให้บริการ ก็อย่าไปยึดติดกับลักษณะ 4 ข้อข้างต้น เพราะสิ่งที่ดีที่สุด ไม่จำเป็นต้องสมบูรณ์เสมอไป ขอเพียงท่านรวบรวมข้อมูล นำเสนอข้อมูลที่ได้จากการจัดระเบียบให้เป็นหมวดหมู่ ไม่ผิดพลาด ปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ตอบข้อซักถามผู้เรียน และประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน ก็ยอดเยี่ยมแล้ว




7. ธนาคารอิเล็กทรอนิกส์(E-banking หรือ Electronic banking) 

 ปัจจุบันการทำธุรกรรมทางการเงิน ที่ให้บริการโดยธนาคาร เริ่มเปิดช่องทางอื่น นอกจากการไปติดต่อด้วยตนเองที่ธนาคาร หรือการทำรายการจากตู้ ATM ในแบบเดิม ทุกวันนี้ท่านสามารถใช้โทรศัพท์มือถือ ติดต่อเข้าไปชำระค่าสินค้า และบริการ หลายธนาคารเปิดให้สามารถโอนเงิน ระหว่างบัญชีผ่านอินเทอร์เน็ต สำหรับผู้เขียน สามารถตรวจสอบยอดในบัญชี ที่ให้บริการโดยธนาคารไทยพาณิชย์ ผ่านเว็บ scbeasy.com และในปีพ.ศ.2545 เป็นปีแรกที่กรมสรรพากร เปิดให้มีการยื่นแบบฟอร์มชำระภาษีเงินได้ ภ.ง.ด.91 ทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งสร้างความสะดวกให้กับประชาชนอย่างมาก หลายท่านที่ใช้โทรศัพท์มือถือในระบบจีเอสเอ็ม แอดวานซ์ สามารถใช้บริการ mBANKING จาก mobileLIFE เพื่อทำธุรกรรมทางการเงินกับธนาคารได้หลายแห่ง เช่น เรียกดูยอดเงินในบัญชี โอนเงินระหว่างบัญชี ชำระค่าสินค้า หรือเรียกดูอัตราแลกเปลี่ยน เป็นต้น http://www.scbeasy.com




8. โทรศัพท์อินเทอร์เน็ต (Internet Phone)

 บริการโทรศัพท์ฟรี จากคอมพิวเตอร์ไปเข้าโทรศัพท์บ้านในอเมริกาเคยมี แต่บริการเหล่านั้นได้หายไป เหลือเพียงบริการที่มีราคาถูกมาก บางเว็บให้บริการโทรเข้าอเมริกาเพียงนาทีละ 2 cent เท่านั้น แต่ถ้าใช้ ICQ จะสามารถโทรจากคอมพิวเตอร์ถึงคอมพิวเตอร์ได้ฟรี แต่ถ้าต้องการโทรศัพท์เข้าบ้านในประเทศต่าง ๆ สามารถตรวจสอบบริการของเว็บเหล่านี้ได้ เช่น net2pone.com, mediaring.com, iconnecthere.com, hottelephone.com และ dialpad.com เป็นต้น




9. เกมออนไลน์ (Game online) 

เด็กชอบเล่นเกม ปัจจุบันเกมถูกพัฒนาไปมาก ไม่จำเป็นต้องไปซื้อโปรแกรมเกมจากร้าน มาติดตั้งในเครื่องอีกต่อไป เพราะท่านสามารถเลือกเกม เล่นผ่านระบบอินเทอร์เน็ตได้ทันที และมีเว็บที่ให้บริการอยู่มากมาย แต่ถ้าเล่นคนเดียวแล้วเบื่อ ก็สามารถเล่นแบบเป็นกลุ่มกับผู้ใช้อินเทอร์เน็ตท่านอื่น ที่ติดต่อเข้ามาในระบบ มีผู้นักเล่นเกมมากมาย ที่พร้อมจะเล่นกับท่าน





10. ปรับปรุงซอฟต์แวร์ให้ทันสมัย (Software updating)

 ปัจจุบันเมื่อท่านซื้อโปรแกรมสักโปรแกรมหนึ่ง เช่นโปรแกรมฆ่าไวรัส หรือ Microsoft windows เป็นต้น ความสามารถหนึ่งคือการ update โปรแกรมผ่านระบบอินเทอร์เน็ต เพราะโปรแกรมฆ่าไวรัสจะต้องได้รับการปรับปรุงเสมอ เพื่อใช้ต่อสู้กับไวรัสพันธุ์ใหม่ หรือระบบปฏิบัติการเช่น Windows หรือ Linux เมื่อซื้อมาระยะหนึ่ง ทางผู้พัฒนาจะแจ้งให้ทราบว่าโปรแกรมมีข้อผิดพลาด ให้ download patch เพื่อนำมาแก้ปัญหาในโปรแกรมที่ได้ซื้อมาแล้ว






11. Wap, Palm หรือ PocketPC WAP (Wireless Application Protocol)

 คือบริการที่ทำให้ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือเปิดเว็บด้วยโทรศัพท์ได้ แต่ปัจจุบันข้อมูลยังอยู่ในรูปแบบที่จำกัดกว่าหน้าจอคอมพิวเตอร์ ผู้เขียนได้ทดสอบแล้ว เพราะมีโทรศัพท์รุ่น Siemens c35i เมื่อใช้บริการ WAP เพื่อดูข้อมูลจะพบ 2 ปัญหาคือ หน้าจอเล็กเกินไป เหมือนอ่านนิยายแต่ต้องอ่านผ่านแว่นขยายทีละตัวอักษร และข้อมูลก็ไม่น่าดึงดูด เพราะเป็นตัวอักษรเท่านั้น ไม่มีรูปภาพ หรือเสียง Palm คืออุปกรณ์ประเภท PDA (Personal Digital Assistant) ของบริษัท Palm PocketPC คืออุปกรณ์ประเภท PDA ของหลายบริษัท แต่ใช้ระบบปฏิบัติการจาก Microsoft หาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากเว็บต่อไปนี้ http://www.palm.com/products/handhelds/other/ http://www.microsoft.com/mobile/handheldpc/buyhpc.asp http://www.neccomp.com/MobilePro/





12. บริการกระดานข่าว (Usenet news) 

บริการกระดานข่าว ที่มีในเว็บมากมาย เกิดขึ้นตามบริการกระดานข่าว(Usenet news) ที่มีให้บริการมาตั้งแต่ยุคแรกของอินเทอร์เน็ต และยังมีการให้บริการอยู่ในปัจจุบัน แต่มีผู้ใช้จำนวนไม่มากที่ทราบ เพราะการใช้งานกระดานข่าวในเว็บไซต์ สะดวกกว่า Usenet news สำหรับกระดานข่าวของสังคมไทย มีชื่อเป็น soc.culture.thai ถ้าท่านต้องการคำตอบที่เกี่ยวกับสังคมไทย เมื่อส่งคำถามไปที่ news:soc.culture.thai อาจจะมีคนตอบ และตรงกับที่ท่านต้องการ ปัจจุบันโปรแกรมที่นิยมนำมาใช้อ่าน usenet news คือ Outlook express ถ้าท่านใช้โปรแกรม IE(Internet explorer) เมื่อพิมพ์ news:soc.culture.thai จะเป็นการเปิดโปรแกรม Outlook และ download หัวข้อข่าวจากเครื่องบริการข่าว





13. เอฟทีพี (FTP - File Transfer Protocol) FTP

 คือ การรับ - ส่งแฟ้มไปยังเครื่องที่ให้บริการ ปัจจุบันมีโปรแกรม WS_FTP (http://www.ipswitch.com) หรือ CUTE_FTP (http://www.globalscape.com) ที่ทำให้ส่งแฟ้มหลายแฟ้มไปยังเครื่องบริการได้สะดวก ต่างกับการ Upload หรือ Download แฟ้มที่จำกัดจำนวนแฟ้มในการส่งต่อครั้ง ผ่าน Browser เหมือนบริการของ thai.net หรือ geocities.com แม้ไม่มีโปรแกรม WS_FTP หรือ CUTE_FTP แต่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้ง TCP/IP จะมีโปรแกรม c:\windows\ftp.exe ติดมาด้วย ทำให้สามารถ Download หรือ Upload ในแบบ Text mode ซึ่งมีฟังก์ชันที่จำเป็นครบ การใช้ FTP ได้ หรือไม่ ขึ้นอยู่กับบริการของเครื่องบริการที่เปิดให้บริการ Web hosting และเปิดให้ใช้ FTP



14. เทลเน็ต(Telnet) หรือ SSH Telnet 

คือโปรแกรมที่ใช้ติดต่อเข้าไปทำงานในเครื่องบริการที่ติดตั้งระบบปฏิบัติการ Unix หรือ Linux มาตั้งแต่ยุคแรก แต่ในปัจจุบันการใช้โปรแกรมนี้เริ่มลดลง เพราะมีจุดบกพร่องเรื่องความปลอดภัย ถ้าผู้ไม่หวังดีนำโปรแกรมประเภท Sniffer ไปประมวลผลในเครือข่าย จะสามารถเห็นทุกตัวอักษรที่พิมพ์ และส่งออกไปจากคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง ผู้เขียนทดสอบแล้วเห็นข้อมูลมากมายที่ส่งจากคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง แม้แต่รหัสผ่าน หรือเนื้อความในจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ วิธีแก้ไขคือใช้โปรแกรม SSH (Secure Shell) ซึ่งเข้ารหัสข้อมูลก่อนส่ง ทำให้ผู้ลักลอบไม่สามารถเห็นข้อมูลที่แท้จริง ปัจจุบันระบบปฏิบัติการ Unix หรือ Linux จะมีบริการ SSH เสมอ แต่เครื่องของผู้ใช้ที่ต้องการติดต่อเครื่องบริการ จำเป็นต้องมีโปรแกรม SSH client ติดตั้งไว้ บริการนี้คือการอนุญาตให้ผู้ใช้ติดต่อเข้าไปยังเครื่องบริการ ได้เสมือนนั่งอยู่หน้าเครื่อง เช่นตรวจสอบผู้ใช้ แก้ปัญหาบางประการ อ่าน e-mail ด้วย Pine หรือใช้เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ต้นทางเพื่อบุกรุก หรือโจมตีเครื่องอื่นในอินเทอร์เน็ตต่อไป แต่เกิดปัญหาความปลอดภัยของข้อมูล ที่ถูกส่งจากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ telnet จึงมีการพัฒนา SSH ที่ทำงานได้คล้าย telnet แต่มีการเข้ารหัสก่อนส่งข้อมูล ทำให้ปลอดภัยจากผู้ที่ใช้โปรแกรมตรวจจับประเภท sniffer เพื่อดักจับข้อมูล จากการทดสอบ พบว่าผู้ให้บริการ e-mail ส่วนหนึ่งในปัจจุบัน ยังไม่ป้องกันปัญหานี้ ผู้ให้บริการที่ป้องกันแล้วเช่น Hotmail.com หรือ Yahoo.com โดยมีตัวเลือกสำหรับความปลอดภัยที่สูงขึ้น